คํานําภาษาไทย วิธีเขียนตัวอย่างคำนำรายงานวิชาภาษาไทย คํานําหนังสือ คํานํานิทาน

คํานําภาษาไทย คำนำรายงานภาษาไทย วิธีเขียนตัวอย่างคำนำรายงานวิชาภาษาไทย คํานําหนังสือ คํานํานิทาน เว็บเขียนคำนำ

การเขียนคำนำภาษาไทย

คำนำ คือ ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือหรือเล่มรายงาน คำนำโดยส่วนมาก จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการเขียนรายงาน อาจมีการเขียนเกี่ยวกับ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำรายงาน เมื่อเขียนเสร็จ ควรลงท้ายผู้จัดทำ หรือคณะผู้จัดทำรายงาน ด้วย ตัวอย่างการเขียนคำนำรายงายนแบบง่ายๆ สำหรับท่านที่จะนำไปประยุกต์ใช้

ตัวอย่างคำนำรายงาน
แบบที่ 1
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา…… (รหัสวิชา)……ชั้นมัธยมศึกษาปีที่… โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง…… ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จาก………………..

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและ ต้องขอขอบคุณ……(ชื่อบุคคลที่ช่วยเหลือข้อมูล)…… ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอดผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน
ลงชื่อ……ผู้จัดทำ

แบบที่ 2
รายงาน/เอกสารคำสอน/สื่อ ฯลฯ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา…… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่… โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง…… ทั้งนี้ในรายงานนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับ…… ตลอดจนการประยุกต์ใช้……

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึง…… ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณอาจารย์……ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

ลงชื่อ……ผู้จัดทำ

แบบที่ 3
รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชา…… โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้า และนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและครูต่อไป

ทั้งนี้ เนื้อหาได้รวบรวมมาจากหนังสือแบบเรียน……และจากหนังสือคู่มือการเรียนอีกหลายเล่ม ขอขอบพระคุณอาจารย์……อย่างสูงที่กรุณาตรวจ ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไข ให้ข้อเสนอแนะตลอดการทำงาน ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปใช้ให้เกิดผลตามความคาดหวัง

ลงชื่อ……ผู้จัดทำ

การเขียนคำนำนิทาน

ตัวอย่างคำนำนิทาน
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัสวิชา…… โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านของแต่ภาคของประเทศไทย เพื่อให้นิทานพื้นบ้านของไทยในแต่ละเรื่องได้ให้คุณค่าด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของไทย สามารถเป็นเครื่องหล่อหลอมอัธยาศัยจิตใจของคนภาคเหนือ ให้มีความเมตตากรุณา อ่อนโยน อ่อนน้อม น่าคบหาซึ่งสิ่งเหล่านี้นิทานมีส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติตนทางจริยธรรมไม่น้อย

นิทานพื้นบ้านของแต่ละภาค จะมีเนื้อหาให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน โดยจะมีการแทรกเนื้อข้อคิด คติสอนใจในนิทานเรื่องนั้น ๆ โดยมีนิทานพื้นบ้านของแต่ละภาคคือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคกลาง โดยให้คุณค่าด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และยังเป็นการอนุรักษ์ไว้ ช่วยให้เยาวชนของชาติมีโอกาสเรียนรู้ การวิถีชีวิตแห่งบรรพบุรุษของตนได้เป็นอย่างดี

การนำเอานิทานไปเล่าเรื่องประกอบคำสอนให้เด็ก ๆ ได้ฟังย่อมจะเป็นเครื่องทำให้เพลิดเพลินและเสริมความรู้ แบ่งเบาภาระที่จะต้องสอนเนื้อหาอย่างเดียว โดยอาศัยบุคลาธิษฐานเป็นตัวอย่างประกอบ นอกจากนี้นิทานแต่ละเรื่องยังให้ข้อเท็จจริงและช่วยในด้านการอ่าน การเขียน การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เป็นการเพิ่มทักษะในด้านการเห็น การฟัง และการทำตามเยี่ยงอย่างอันดีนั้นด้วยการศึกษาเรื่องนิทานจึงเป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ทั้งทางทฤษฎีและแนวปฎิบัติด้วยทั้งสองทาง หากเกิดความผิดพลาดประการใดก็ขอมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ลงชื่อ……ผู้จัดทำ

การเขียนคำนำ

ตัวอย่างคำนำหนังสือวิชาการ
หนังสือแนะนําเทคนิคการสอนเล่มนี้ จัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนสําหรับครู อาจารย์ และผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจ ได้เลือกใช้เทคนิคการสอนในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามหากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยจะได้นําข้อเสนอแนะกลับไปปรับปรุงในโอกาสต่อไป

ลงชื่อ……คณะผู้จัดทำ

คำนำหนังสือวิชาากร

คําภาษาบาลี สันสกฤต ตัวอย่างพร้อมความหมาย

รวมคําภาษาบาลี สันสกฤต คืออะไร ตัวอย่างพร้อมความหมาย คำแปล คำไทย ภาษาไทย ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต

คําภาษาบาลี สันสกฤต

ภาษาบาลี และสันสกฤตในภาษาไทย
ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก

ข้อสังเกตและตัวอย่าง
ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ

นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
1.มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
2.ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ
3.นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ
4.ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

ภาษาบาลี และสันสกฤตในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาบาลี 50 คำ พร้อมความหมาย

1.กิตติ หมายถึง คำเล่าลือ,คำสรรเสริญ
2.ภริยา หมายถึง ภรรยา,เมีย
3.กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้หมองเศร้า
4.มัจจุราช หมายถึง พญายม
5.กิริยา หมายถึง การกระทำ
6.มัจฉา หมายถึง ปลา
7.กีฬา หมายถึง กิจกรรมหรือการเล่น
8.มัชฌิม หมายถึง ปานกลาง
9.เขต หมายถึง แดนที่กำหนดขีดคั่นไว้
10.มหันต์ หมายถึง ใหญ่,มาก
11.ขณะ หมายถึง ครู่,ครั้ง
12.เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดู
13.คิมหันต์ หมายถึง ฤดูร้อน
14.มิจฉา หมายถึง ผิด
15.จตุบท หมายถึง สัตว์สี่เท้า
16.มเหสี หมายถึง ชายของพระเจ้าแผ่นดิน
17.จิต หมายถึง ใจ
18.มุสา หมายถึง เท็จ,ปด
19.จุฬา หมายถึง ยอด,หัว,มงกุฏ
20.มัสสุ หมายถึง หนวด
21.โจร หมายถึง ผู้ร้ายที่ลักขโมย
22.รัตนา หมายถึง แก้ว
23.เจดีย์ หมายถึง สิ่งซึ่งก่อมียอดแหลม
24.โลหิต หมายถึง เลือด
25.จุติ หมายถึง การกำเนิด
26.วัตถุ หมายถึง สิ่งของ
27.ฉิมพลี หมายถึง ไม้งิ้ว
28.วิชา หมายถึง ความรู้
29.ญาติ คนในวงศ์วาน
30.วิญญาณ หมายถึง ความรับรู้
31.ดิถี หมายถึง วันตามจันทรคติ
32.วิตถาร หมายถึง มากเกินไป,พิสดาร
33.ดารา หมายถึง ดาว,ดวงดาว
34.วิริยะ หมายถึง ความเพียร
35.ดุริยะ หมายถึง เครื่องดีดสีตีเป่า
36.วิสุทธิ์ หมายถึง สะอาด,หมดจด
37.เดชะ หมายถึง อำนาจ
38.วุฒิ หมายถึง ภูมิรู้
39.ทัพพี หมายถึง เครื่องตักข้าว
40.สงกา หมายถึง ความสงสัย
41.ปฐม หมายถึง ลำดับแรก
42.อัชฌาสัย หมายถึง นิสัยใจคอ
43.ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย,ข้อขัดข้อง
44.อายุ หมายถึง เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่
45.พยัคฆ์ หมายถึง ชื่อพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก
46.โอวาท หมายถึง คำแนะนำ,คำตักเตือน
47.ภัตตา หมายถึง อาหาร
48.โอรส หมายถึง ลูกชาย
49.ภิกขุ หมายถึง ภิกษุ
50.โอกาส หมายถึง ช่อง,ทาง

ตัวอย่างคำสันสกฤต 50 คำ พร้อมความหมาย

ตัวอย่างคำสันสกฤต 50 คำ พร้อมความหมาย

1.นาที หมายถึง ชื่อหน่วยเวลา
2.สัตย์ หมายถึง ความจริง
3.นฤคหิต หมายถึง ชื่อเครื่องหมาย
4.สันโดษ หมายถึง มักน้อย
5.นิตยา หมายถึง สม่ำเสมอ
6.สมปฤดี หมายถึง ความรู้สึกตัว
7.นิทรา หมายถึง การหลับ
8.สตรี หมายถึง ผู้หญิง
9.นฤมล หมายถึงไม่มีมลทิน
10.สวรรค์ หมายถึง โลกของเทวดา
11.เนตร หมายถึง ดวงตา
12.สรรพ หมายถึง ทุกสิ่ง,ทั้งปวง
13.บุษบา หมายถึง ดอกไม้
14.บรรพต หมายถึง ภูเขา
15.สถาปนา หมายถึง แต่งตั้งให้สูงขึ้น
16.บุษกร หมายถึง ดอกบัวสีน้ำเงิน
17.สดุดี หมายถึง คำยกย่อง
18.บุรุษ หมายถึง ผู้ชาย
19.สกล หมายถึง สากล
20.ประเทศ หมายถึง บ้านเมือง,แว่นแคว้น
21.สกุล หมายถึง ตระกูล,วงศ์
22.ประทีป หมายถึง ไฟที่มีเปลวสว่าง
23.อักษร หมายถึง ตัวหนังสือ
24.ประพันธ์ หมายถึง แต่ง,เรียบเรียง
25.อาตมา หมายถึง ตัวเอง
26.ประพฤติ หมายถึง การกระทำ
27.อัศจรรย์ หมายถึงแปลก,ประหลาด
28.ประเวณี หมายถึง การเสพสังวาส
29.อัธยาศัย หมายถึง นิสัยใจคอ
30.ประมาท หมายถึง ขาดความรอบคอบ
31.อารยะ หมายถึง เจริญ
32.ประโยค หมายถึง ข้อความที่ได้รับความบริบูรณ์
33.อวกาศ หมายถึง บริเวณที่อยู่นอกโลก
34.ประถม หมายถึง ลำดับแรก
35.อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้
36.ภักษา หมายถึง อาหาร
37.อาทิตย์ หมายถึง ดวงอาทิตย์
38.ภิกษุ หมายถึง ชายที่บวช
39.อุทยาน หมายถึง สวน
40.ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ
41.ศิษย์ ผู้ศึกษาวิชาความรู้
42.สุวรรณ หมายถึง ทอง
43.ทัศนีย์ หมายถึง น่าดู,งาม
44.ศุกร์ หมายถึง ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์
45.ทิพย์ หมายถึง เป็นของเทวดา
46.ศูนย์ หมายถึง ว่างเปล่า
47.นักษัตร หมายถึง ดาว,ดาวฤกษ์
48.ศรี หมายถึง สิริมงคล,ความรุ่งเรือง
49.นมัสการ หมายถึง การกราบไหว้
50.เศียร หมายถึง หัว

คำวิเศษณ์พร้อมความหมาย

คําสมาส คำสนธิ คืออะไร หมายถึง ตัวอย่างพร้อมความหมาย

รวมคําสมาส คำสนธิ คืออะไร หมายถึง ตัวอย่างพร้อมความหมาย ตัวอย่างคําสนธิ 50 คำ ตัวอย่าง คําสมาส 50 คํา พร้อมความหมาย ภาษาไทย

คําสมาส คำสนธิ

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
– เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
– เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
– พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
– แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
– ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
– คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
– ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
– อ่านออกเสียงระหว่างคำ
– คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

คําสมาส

ตัวอย่างคำสมาส
1.ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจ
2.กิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้
3.กรรมกร หมายถึง คนงาน, ผู้ใช้แรงงาน
4.ขัณฑสีมา หมายถึง เขตแดน, เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ, เขตแดนในปกครอง
5.คหกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
6.เอกภพ หมายถึง ระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต
7.กาฬทวีป หมายถึง ทวีปแอฟริกา
8.สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ประธาน หรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการ
9.จีรกาล หมายถึง เวลาช้านาน
10.บุปผชาติ หมายถึง ดอกไม้
11.ประถมศึกษา หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
12.ราชทัณฑ์ หมายถึง อาญาจากพระเจ้าแผ่นดิน
13.มหาราช หมายถึง เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์
14.ฉันทลักษณ์ หมายถึง แบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
15.พุทธธรรม หมายถึง คำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และนำมาเผยแผ่สั่งสอนบุคคล
16.วรรณคดี หมายถึง บทประพันธ์ที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เช่น สามก๊ก รามเกียรติ์
17.อิทธิพล หมายถึง อำนาจที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นคล้อยตาม
18.มาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
19.มัจจุราช หมายถึง เจ้าแห่งความตาย
20.วิทยฐานะ หมายถึง ฐานะด้านความรู้,ขั้นความรู้
21.วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ,บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง
22.สัมมาอาชีพ หมายถึง การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต
23.หัตถศึกษา หมายถึง การศึกษาที่เน้นในเรื่องการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ
24.ยุทธวิธี หมายถึง วิธี และอุบายในการรบ
25.วาตภัย แปลว่าหมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากพายุ
26.อุตสาหกรรม หมายถึง กิจการที่ใช้ทุน และแรงงานเพื่อสร้างผลผลิต หรือการบริการเพื่อกำไร
27.สังฆราช หมายถึง ตำแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล
28.รัตติกาล หมายถึง เวลากลางคืน
29.วสันตฤดู หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิ
30.สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย
31.อธิการบดี หมายถึง ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย
32.ดาราศาสตร์ หมายถึง วิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า
33.ทุพภิกขภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนอาหาร หรือข้าวยากหมากแพง
34.สุคนธรส หมายถึง กลิ่นหอม,เครื่องหอม
35.วิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
36.บุตรทาน หมายถึง การให้ทานโดยการสละบุตรและภรรยา
37.สมณพราหมณ์ หมายถึง บุคคลที่ดับกิเลสแล้ว
38.สังฆเภท หมายถึง การที่ภิกษุทำให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป
39.อินทรธนู หมายถึง แถบเครื่องหมายแสดงยศ
40.ฤทธิเดช หมายถึง การอาละวาดด้วยอารมณ์โกรธ หรือเอาแต่ใจ
41.แพทย์ศาสตร์ หมายถึง วิชาการป้องกัน และบำบัดรักษาโรค
42.ปัญญาชน หมายถึง ประชาชนที่เจริญแล้ว มีปัญญา
43.วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้
44.จตุปัจจัย หมายถึง เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิต หรือสิ่งจำเป็น ๔ อย่าง
45.มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกต่อกันในสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเอง
46.วิทยาธร หมายถึง เป็นอมนุษย์พวกหนึ่งตามคติศาสนาแบบอินเดีย
47.วัฏสงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด
48.สารัตถศึกษา หมายถึง การศึกษาวิชาที่เป็นพื้นฐาน เช่นวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
49.พัสดุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของที่บรรจุหีบห่อสำหรับส่งจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง
50.เวชกรรม หมายถึง การรักษาโรค

คำสนธิ

คำสนธิ คือ การสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน

หลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์ ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น
ราช + อานุภาพ = ราชานุภาพ
สาธารณ + อุปโภค = สาธารณูปโภค
นิล + อุบล = นิลุบล

2.พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
นิรส + ภัย = นิรภัย
ทุรส + พล = ทุรพล
อายุรส + แพทย์ = อายุรแพทย์

3.นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง เช่น
สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม
สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย
สํ + นิบาต = สน + นิบาต = สันนิบาต
สํ + จร = สญ + จร = สัญจร
สํ + หรณ์ = สังหรณ์

คำสนธิ-ความหมาย

ตัวอย่างคำสนธิ

1.นครินทร์ หมายถึง เจ้าเมือง,เมืองใหญ่
2.ราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอนของพระราชา
3.ราชานุสรณ์ หมายถึง สัญลักษณ์ของพระราชา
4.คมนาคม หมายถึง การไป และการมา,การติดต่อไปมาถึงกัน,การสื่อสาร
5.ผลานิสงส์ หมายถึง ผลแห่งบุญกุศล,ความไหลออกแห่งผล
6.ศิษยานุศิษย์ หมายถึง บรรดาศิษยน้อยใหญ่
7.ราชินยานุสรณ์ หมายถึง สัญลักษณ์ของพระราชินี
8.สมาคม หมายถึง การประชุม,การเข้าร่วมคณะ,การคบค้า
9.จุลินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือช่วยในการมองเห็น
10.ธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
11.มหิทธิ หมายถึง มีฤทธิ์มาก
12.นภาลัย หมายถึง ฟากฟ้า,กลางหาว
13.ธนาณัติ หมายถึง ตราสาร ซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินแก่ผู้รับ
14.หัสดาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับของช้าง
15.หิมาลัย หมายถึง ชื่อเทือกเขาทางเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี
16.วัลยาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับเชื้อสาย
17.จุฬาลงกรณ์ หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ
18.มโนภาพ หมายถึง ความคิดเห็นเกิดภาพขึ้นในใจ
19.รโหฐาน หมายถึง ที่เฉพาะส่วนตัว,ที่ลับ
20.สงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด,การเวียนตายเวียนเกิด
21.นโยบาย หมายถึง แบบแผนความคิดที่ใช้เป็นหลักยึดในการปฏิบัติ หรือการตัดสินใจ, มักใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหาร
22.ศิลปาชีพ หมายถึง การส่งเสริมให้คนไทยในภูมิภาคต่างๆ ผลิตงานด้านศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม
23.ปรเมนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง
24.ทุตานุทูต หมายถึง ทูตใหญ่น้อย,คณะทูต
25.นเรศวร หมายถึง พระราชา
26.กุศโลบาย หมายถึง วิธีการอันแยบคาย, วิธีการอันชาญฉลาด
27.ราโชบาย หมายถึง วิธีการ หรือกลวิธีที่แยบคายของพระราชา
28.ชลาลัย หมายถึง ทะเล,แม่น้ำ
29.สุโขทัย หมายถึง เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ ๗๐๐ ปีที่แล้ว
30.สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ เช่น สังคมเมือง
31.สมาทาน หมายถึง รับเอา ถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ, ถือปฏิบัติ
32.มหัศจรรย์ หมายถึง แปลกประหลาดมาก,น่าพิศวงมาก
33.ขีปนาวุธ หมายถึง อาวุธสงครามที่ยิงออกไปสู่เป้าหมายโดยมีการบังคับวิถีตอนขึ้นได้ในตัว
34.บดินทร์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
35.พนาลัย หมายถึง การอยู่ป่า, ที่อยู่ในป่า
36.อนามัย หมายถึง สุขภาพ, ความไม่มีโรค, ความปลอดโรค
37.สังหรณ์ หมายถึง รู้สึกคล้ายมีสิ่งมาดลใจให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น, มักใช้แก่เหตุร้าย
38.กินนรี หมายถึง กินนรเพศหญิง.
39.สโมสร หมายถึง ที่สำหรับร่วมประชุมพบปะกัน
40.มหรรณพ หมายถึง ทะเลใหญ่,ห้วงน้ำใหญ่
41.จุฬาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับศรีษะอันสูงสุด
42.ราชูปโภค หมายถึง เครื่องใช้สอยของพระราชา
43.ภยาคติ หมายถึง ความกลัวอันก่อให้เกิดอคติ หรือลำเอียง
44.สุรางค์ หมายถึง ผู้มีร่างกายเป็นทิพย์
45.คงคาลัย หมายถึง แม่น้ำ, น่านน้ำ, น้ำ
46.จินตนาการ หมายถึง การสร้างภาพขึ้นในใจ
47.วิทยาการ หมายถึง ความรู้วิชาการด้านต่าง ๆ
48.บรรณารักษ์ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลรักษาหนังสือและบริหารงานในห้องสมุด
49.เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
50.หัตถาจารย์ หมายถึง ผู้ฝึกหัดช้าง,ควาญช้าง,หมอช้าง

คำวิเศษณ์พร้อมความหมาย

คําวิเศษณ์ คืออะไร หมายถึง ตัวอย่างพร้อมความหมาย

คําวิเศษณ์ คืออะไร หมายถึง รวมประโยคคำวิเศษณ์ 10 ชนิด ตัวอย่างพร้อมความหมาย ภาษาไทย ใช้แต่งประโยค ส่งรายงานวิชาภาษาไทย

คําวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น

ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน

คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ

1.ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ
เช่น บอกชนิดสี,บอกขนาด,บอกความรู้สึก,บอกรส,บอกกลิ่น,บอกสัณฐาน
– รถคันนี้สีเหลือง
– ธงชาติไทยมี 3 สี คือ แดง,ขาว,น้ำเงิน
– เรือใบมีขนาดใหญ่กว่าเรือแจว
– มีน้ำเย็นอยู่ในตู้แช่
– อาหารจานนี้มีรสเปรี๊ยวมากๆ
– ลูกอมสำหรับเด็กจะมีรสหวานเป็นส่วนมาก
– ได้กลิ่นหอมมากจากดอกไม้ข้างทาง
– กระป๋องพ่นสีมีลักษณะเป็นทรงกระบอก

2.กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา
เช่น เช้า,สาย,บ่าย,เย็น,อดีต,อนาคต
– พรุ่งนี้เช้าต้องไปถึงโรงเรียนให้ทันเพื่อนๆ
– ช่วงบ่ายโมงเป็นต้นไป จะมีการตรวจสุขภาพประจำปี
– สมัยก่อนตอนเด็กๆ เคยวิ่งชนหน้าต่างหัวแตกมาแล้ว
– ภายใน 4 ปีข้างหน้า ผมจะต้องเรียนจบให้ได้

3.สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่
เช่น ใกล้,ไกล,บน,ล่าง,เหนือ,ใต้,ซ้าย,ขวา
– จังหวัดลำปางอยู่ใกล้กับจังหวัดแพร่
– ฉันจะรอเธออยู่ที่ชั้นล่างนะ
– ร้านขนมปังชีสอยู่ซ้ายมือถัดจากซอยนี้
– ฉันทำสร้อยคอตกลงไปอยู่ใต้น้ำ

4.ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวนหรือปริมาณ
เช่น หนึ่ง,สอง,สาม,มาก,น้อย,บ่อย,หลาย,บรรดา
– พี่ชายฉันมีเงิน 5 บาท
– เขาตกปลาได้หลายตัว
– แม่ฉันขี้ลืมอยู่บ่อยๆ
– ฉันฝันเห็นปลาจำนวนมาก

5.นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ
เช่น นี้,นั่น,โน่น,ทั้งนี้,ทั้งนั้น,แน่นอน
– รถคันนั้นไม่มีคนขับ
– ฉันรอเขาอยู่ฝั่งนี้
– พรุ่งนี้ฉันจะไปกับเธอแน่นอน
– เราต่างก็มีความคิดกันทั้งนั้น

คำวิเศษณ์10ชนิด

6.อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ
เช่น ใด,อื่น,ไหน,อะไร,ใคร,ฉันใด
– ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
– เด็กๆออกไปเล่นที่อื่นสิ
– ใครจะทำอะไรก็แล้วแต่ ฉันไม่ใส่ใจ
– สีขาวสกปรกได้ฉันใด สีดำก็สะอาดได้ฉันนั้น

7.ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถามหรือแสดงความสงสัย
เช่น ใด,ไร,ไหน,อะไร,สิ่งใด,ทำไม
– เธอจะไปที่ไหน
– รอยรั่วตรงนี้เกิดจากอะไร
– ทำไมวันนี้แดดร้อนจัง
– สิ่งใดทำให้คุณมีความคิดแบบนี้

8.ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน
เช่น ที่,ซึ่ง,อัน
– คุณมีงานกลุ่มที่จะต้องสะสางให้เสร็จภายในวันนี้
– ฉันทำสร้อยข้อมือหล่นหาย ซึ่งสร้อยเส้นนี้ได้มาจากคนที่ฉันรักมากซะด้วย
– อาจารย์สังคมที่เข้ามาสอนแทนคนเก่าเมื่อวานนี้เป็นคนไม่พูดจาไม่ดี อันเป็นที่เกลียดชังของนักเรียนหลายๆคน

9.ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ
เช่น ไม่,ไม่ใช่,มิ,มิใช่,ไม่ได้,หามิได้
– เขาเป็นคนดี มิใช่คนเลวอย่างที่เขาว่ากัน
– ผมไม่ได้ทำแบบนี้เลยนะ
– ของสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ก็ไม่ควรจะรับไว้นะ

10.ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ
เช่น ครับ,ขอรับ,ค่ะ
– มีคนมาขอพบนายท่านขอรับ
– สวัสดีค่ะ มีอะไรให้ช่วยเหลือมั้ยคะ
– เดี๋ยวผมจะจัดการให้ดีที่สุดครับ

คำวิเศษณ์พร้อมความหมาย

คำนำหน้าชื่อภาษาอังกฤษ ตัวย่อ พร้อมความหมาย

รวมคำนำหน้าชื่อภาษาอังกฤษ คํานําหน้านางสาวภาษาอังกฤษ คำนำหน้าเด็กชายภาษาอังกฤษ ตัวย่อ คำย่อ ต่างกันยังไง พร้อมความหมาย 2019

คำนำหน้าชื่อ

1.คำนำหน้านางสาวภาษาอังกฤษ คือ Miss อ่านว่า มิส
2.คำนำหน้านางภาษาอังกฤษ คือ Mrs. อ่านว่า มิสซิส
3.คำนำหน้านายภาษาอังกฤษ คือ Mr. อ่านว่า มิสเตอร์
4.คำนำหน้าเด็กหญิงภาษาอังกฤษ คือ Miss อ่านว่า มิส
5.คำนำหน้าเด็กชายภาษาอังกฤษ คือ Master อ่านว่า มาสเตอร์
6.คำนำหน้าพระสงฆ์ภาษาอังกฤษ คือ Buddhist Monk อ่านว่า บุดดิสท์ มองค์
7.คำนำหน้าบาทหลวงภาษาอังกฤษ คือ Rev. ย่อมาจากคำว่า Reverend
8.คำนำหน้าหม่อมหลวงภาษาอังกฤษ คือ Mom Luang (M.L.)
9.คำนำหน้าหม่อมราชวงศ์ภาษาอังกฤษ คือ Mom Rajawong (M.R.)
10.คำนำหน้าหม่อมเจ้าภาษาอังกฤษ คือ Mom Chao (M.C.)
11.คำนำหน้าศาสตราจารย์ภาษาอังกฤษ คือ Professor
12.คำนำหน้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาษาอังกฤษ คือ Assistant Professor ตัวย่อ Asst. Prof. ผศ.
13.คำนำหน้ารองศาสตราจารย์ภาษาอังกฤษ คือ Associate Professor
14.คำนำหน้าศาสตราจารย์เกียรติคุณภาษาอังกฤษ คือ Emeritus Professor
15.คำนำหน้าแพทย์ภาษาอังกฤษ คือ Dr. หรือ Doctor อ่านว่า ด๊อกเตอร์
16.คำนำหน้าพระคุณเจ้าที่เคารพภาษาอังกฤษ คือ Ven. ย่อมาจาก Venerable
17.คำนำหน้าชายฮินดูภาษาอังกฤษ คือ babu,baboo
18.คำนำหน้าตำแหน่งทางธุรกิจภาษาอังกฤษ คือ Messrs. ย่อมาจาก Messieurs
19.คำนำหน้าคุณหญิงหรือคุณนายภาษาอังกฤษ คือ Madame
20.คำนำหน้าชื่อที่สุภาพของหญิงสาวรุ่นที่มีอายุน้อยภาษาอังกฤษ คือ mademoiselle
21.คำนำหน้าคุณผู้ชายภาษาอังกฤษ คือ monsieur(ภาษาฝรั่งเศษ)