คําสมาส คำสนธิ คืออะไร หมายถึง ตัวอย่างพร้อมความหมาย

รวมคําสมาส คำสนธิ คืออะไร หมายถึง ตัวอย่างพร้อมความหมาย ตัวอย่างคําสนธิ 50 คำ ตัวอย่าง คําสมาส 50 คํา พร้อมความหมาย ภาษาไทย

คําสมาส คำสนธิ

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
– เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
– เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
– พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
– แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
– ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
– คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
– ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
– อ่านออกเสียงระหว่างคำ
– คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

คําสมาส

ตัวอย่างคำสมาส
1.ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจ
2.กิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้
3.กรรมกร หมายถึง คนงาน, ผู้ใช้แรงงาน
4.ขัณฑสีมา หมายถึง เขตแดน, เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ, เขตแดนในปกครอง
5.คหกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
6.เอกภพ หมายถึง ระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต
7.กาฬทวีป หมายถึง ทวีปแอฟริกา
8.สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ประธาน หรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการ
9.จีรกาล หมายถึง เวลาช้านาน
10.บุปผชาติ หมายถึง ดอกไม้
11.ประถมศึกษา หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
12.ราชทัณฑ์ หมายถึง อาญาจากพระเจ้าแผ่นดิน
13.มหาราช หมายถึง เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์
14.ฉันทลักษณ์ หมายถึง แบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
15.พุทธธรรม หมายถึง คำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และนำมาเผยแผ่สั่งสอนบุคคล
16.วรรณคดี หมายถึง บทประพันธ์ที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เช่น สามก๊ก รามเกียรติ์
17.อิทธิพล หมายถึง อำนาจที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นคล้อยตาม
18.มาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
19.มัจจุราช หมายถึง เจ้าแห่งความตาย
20.วิทยฐานะ หมายถึง ฐานะด้านความรู้,ขั้นความรู้
21.วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ,บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง
22.สัมมาอาชีพ หมายถึง การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต
23.หัตถศึกษา หมายถึง การศึกษาที่เน้นในเรื่องการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ
24.ยุทธวิธี หมายถึง วิธี และอุบายในการรบ
25.วาตภัย แปลว่าหมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากพายุ
26.อุตสาหกรรม หมายถึง กิจการที่ใช้ทุน และแรงงานเพื่อสร้างผลผลิต หรือการบริการเพื่อกำไร
27.สังฆราช หมายถึง ตำแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล
28.รัตติกาล หมายถึง เวลากลางคืน
29.วสันตฤดู หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิ
30.สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย
31.อธิการบดี หมายถึง ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย
32.ดาราศาสตร์ หมายถึง วิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า
33.ทุพภิกขภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนอาหาร หรือข้าวยากหมากแพง
34.สุคนธรส หมายถึง กลิ่นหอม,เครื่องหอม
35.วิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
36.บุตรทาน หมายถึง การให้ทานโดยการสละบุตรและภรรยา
37.สมณพราหมณ์ หมายถึง บุคคลที่ดับกิเลสแล้ว
38.สังฆเภท หมายถึง การที่ภิกษุทำให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป
39.อินทรธนู หมายถึง แถบเครื่องหมายแสดงยศ
40.ฤทธิเดช หมายถึง การอาละวาดด้วยอารมณ์โกรธ หรือเอาแต่ใจ
41.แพทย์ศาสตร์ หมายถึง วิชาการป้องกัน และบำบัดรักษาโรค
42.ปัญญาชน หมายถึง ประชาชนที่เจริญแล้ว มีปัญญา
43.วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้
44.จตุปัจจัย หมายถึง เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิต หรือสิ่งจำเป็น ๔ อย่าง
45.มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกต่อกันในสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเอง
46.วิทยาธร หมายถึง เป็นอมนุษย์พวกหนึ่งตามคติศาสนาแบบอินเดีย
47.วัฏสงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด
48.สารัตถศึกษา หมายถึง การศึกษาวิชาที่เป็นพื้นฐาน เช่นวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
49.พัสดุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของที่บรรจุหีบห่อสำหรับส่งจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง
50.เวชกรรม หมายถึง การรักษาโรค

คำสนธิ

คำสนธิ คือ การสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน

หลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์ ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น
ราช + อานุภาพ = ราชานุภาพ
สาธารณ + อุปโภค = สาธารณูปโภค
นิล + อุบล = นิลุบล

2.พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
นิรส + ภัย = นิรภัย
ทุรส + พล = ทุรพล
อายุรส + แพทย์ = อายุรแพทย์

3.นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง เช่น
สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม
สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย
สํ + นิบาต = สน + นิบาต = สันนิบาต
สํ + จร = สญ + จร = สัญจร
สํ + หรณ์ = สังหรณ์

คำสนธิ-ความหมาย

ตัวอย่างคำสนธิ

1.นครินทร์ หมายถึง เจ้าเมือง,เมืองใหญ่
2.ราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอนของพระราชา
3.ราชานุสรณ์ หมายถึง สัญลักษณ์ของพระราชา
4.คมนาคม หมายถึง การไป และการมา,การติดต่อไปมาถึงกัน,การสื่อสาร
5.ผลานิสงส์ หมายถึง ผลแห่งบุญกุศล,ความไหลออกแห่งผล
6.ศิษยานุศิษย์ หมายถึง บรรดาศิษยน้อยใหญ่
7.ราชินยานุสรณ์ หมายถึง สัญลักษณ์ของพระราชินี
8.สมาคม หมายถึง การประชุม,การเข้าร่วมคณะ,การคบค้า
9.จุลินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือช่วยในการมองเห็น
10.ธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
11.มหิทธิ หมายถึง มีฤทธิ์มาก
12.นภาลัย หมายถึง ฟากฟ้า,กลางหาว
13.ธนาณัติ หมายถึง ตราสาร ซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินแก่ผู้รับ
14.หัสดาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับของช้าง
15.หิมาลัย หมายถึง ชื่อเทือกเขาทางเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี
16.วัลยาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับเชื้อสาย
17.จุฬาลงกรณ์ หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ
18.มโนภาพ หมายถึง ความคิดเห็นเกิดภาพขึ้นในใจ
19.รโหฐาน หมายถึง ที่เฉพาะส่วนตัว,ที่ลับ
20.สงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด,การเวียนตายเวียนเกิด
21.นโยบาย หมายถึง แบบแผนความคิดที่ใช้เป็นหลักยึดในการปฏิบัติ หรือการตัดสินใจ, มักใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหาร
22.ศิลปาชีพ หมายถึง การส่งเสริมให้คนไทยในภูมิภาคต่างๆ ผลิตงานด้านศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม
23.ปรเมนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง
24.ทุตานุทูต หมายถึง ทูตใหญ่น้อย,คณะทูต
25.นเรศวร หมายถึง พระราชา
26.กุศโลบาย หมายถึง วิธีการอันแยบคาย, วิธีการอันชาญฉลาด
27.ราโชบาย หมายถึง วิธีการ หรือกลวิธีที่แยบคายของพระราชา
28.ชลาลัย หมายถึง ทะเล,แม่น้ำ
29.สุโขทัย หมายถึง เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ ๗๐๐ ปีที่แล้ว
30.สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ เช่น สังคมเมือง
31.สมาทาน หมายถึง รับเอา ถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ, ถือปฏิบัติ
32.มหัศจรรย์ หมายถึง แปลกประหลาดมาก,น่าพิศวงมาก
33.ขีปนาวุธ หมายถึง อาวุธสงครามที่ยิงออกไปสู่เป้าหมายโดยมีการบังคับวิถีตอนขึ้นได้ในตัว
34.บดินทร์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
35.พนาลัย หมายถึง การอยู่ป่า, ที่อยู่ในป่า
36.อนามัย หมายถึง สุขภาพ, ความไม่มีโรค, ความปลอดโรค
37.สังหรณ์ หมายถึง รู้สึกคล้ายมีสิ่งมาดลใจให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น, มักใช้แก่เหตุร้าย
38.กินนรี หมายถึง กินนรเพศหญิง.
39.สโมสร หมายถึง ที่สำหรับร่วมประชุมพบปะกัน
40.มหรรณพ หมายถึง ทะเลใหญ่,ห้วงน้ำใหญ่
41.จุฬาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับศรีษะอันสูงสุด
42.ราชูปโภค หมายถึง เครื่องใช้สอยของพระราชา
43.ภยาคติ หมายถึง ความกลัวอันก่อให้เกิดอคติ หรือลำเอียง
44.สุรางค์ หมายถึง ผู้มีร่างกายเป็นทิพย์
45.คงคาลัย หมายถึง แม่น้ำ, น่านน้ำ, น้ำ
46.จินตนาการ หมายถึง การสร้างภาพขึ้นในใจ
47.วิทยาการ หมายถึง ความรู้วิชาการด้านต่าง ๆ
48.บรรณารักษ์ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลรักษาหนังสือและบริหารงานในห้องสมุด
49.เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
50.หัตถาจารย์ หมายถึง ผู้ฝึกหัดช้าง,ควาญช้าง,หมอช้าง

คำวิเศษณ์พร้อมความหมาย

แสดงความคิดเห็น

รายการ