คําวิเศษณ์ คืออะไร หมายถึง รวมประโยคคำวิเศษณ์ 10 ชนิด ตัวอย่างพร้อมความหมาย ภาษาไทย ใช้แต่งประโยค ส่งรายงานวิชาภาษาไทย
คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน
คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ
1.ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ
เช่น บอกชนิดสี,บอกขนาด,บอกความรู้สึก,บอกรส,บอกกลิ่น,บอกสัณฐาน
– รถคันนี้สีเหลือง
– ธงชาติไทยมี 3 สี คือ แดง,ขาว,น้ำเงิน
– เรือใบมีขนาดใหญ่กว่าเรือแจว
– มีน้ำเย็นอยู่ในตู้แช่
– อาหารจานนี้มีรสเปรี๊ยวมากๆ
– ลูกอมสำหรับเด็กจะมีรสหวานเป็นส่วนมาก
– ได้กลิ่นหอมมากจากดอกไม้ข้างทาง
– กระป๋องพ่นสีมีลักษณะเป็นทรงกระบอก
2.กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา
เช่น เช้า,สาย,บ่าย,เย็น,อดีต,อนาคต
– พรุ่งนี้เช้าต้องไปถึงโรงเรียนให้ทันเพื่อนๆ
– ช่วงบ่ายโมงเป็นต้นไป จะมีการตรวจสุขภาพประจำปี
– สมัยก่อนตอนเด็กๆ เคยวิ่งชนหน้าต่างหัวแตกมาแล้ว
– ภายใน 4 ปีข้างหน้า ผมจะต้องเรียนจบให้ได้
3.สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่
เช่น ใกล้,ไกล,บน,ล่าง,เหนือ,ใต้,ซ้าย,ขวา
– จังหวัดลำปางอยู่ใกล้กับจังหวัดแพร่
– ฉันจะรอเธออยู่ที่ชั้นล่างนะ
– ร้านขนมปังชีสอยู่ซ้ายมือถัดจากซอยนี้
– ฉันทำสร้อยคอตกลงไปอยู่ใต้น้ำ
4.ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวนหรือปริมาณ
เช่น หนึ่ง,สอง,สาม,มาก,น้อย,บ่อย,หลาย,บรรดา
– พี่ชายฉันมีเงิน 5 บาท
– เขาตกปลาได้หลายตัว
– แม่ฉันขี้ลืมอยู่บ่อยๆ
– ฉันฝันเห็นปลาจำนวนมาก
5.นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ
เช่น นี้,นั่น,โน่น,ทั้งนี้,ทั้งนั้น,แน่นอน
– รถคันนั้นไม่มีคนขับ
– ฉันรอเขาอยู่ฝั่งนี้
– พรุ่งนี้ฉันจะไปกับเธอแน่นอน
– เราต่างก็มีความคิดกันทั้งนั้น
6.อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ
เช่น ใด,อื่น,ไหน,อะไร,ใคร,ฉันใด
– ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
– เด็กๆออกไปเล่นที่อื่นสิ
– ใครจะทำอะไรก็แล้วแต่ ฉันไม่ใส่ใจ
– สีขาวสกปรกได้ฉันใด สีดำก็สะอาดได้ฉันนั้น
7.ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถามหรือแสดงความสงสัย
เช่น ใด,ไร,ไหน,อะไร,สิ่งใด,ทำไม
– เธอจะไปที่ไหน
– รอยรั่วตรงนี้เกิดจากอะไร
– ทำไมวันนี้แดดร้อนจัง
– สิ่งใดทำให้คุณมีความคิดแบบนี้
8.ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน
เช่น ที่,ซึ่ง,อัน
– คุณมีงานกลุ่มที่จะต้องสะสางให้เสร็จภายในวันนี้
– ฉันทำสร้อยข้อมือหล่นหาย ซึ่งสร้อยเส้นนี้ได้มาจากคนที่ฉันรักมากซะด้วย
– อาจารย์สังคมที่เข้ามาสอนแทนคนเก่าเมื่อวานนี้เป็นคนไม่พูดจาไม่ดี อันเป็นที่เกลียดชังของนักเรียนหลายๆคน
9.ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ
เช่น ไม่,ไม่ใช่,มิ,มิใช่,ไม่ได้,หามิได้
– เขาเป็นคนดี มิใช่คนเลวอย่างที่เขาว่ากัน
– ผมไม่ได้ทำแบบนี้เลยนะ
– ของสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ก็ไม่ควรจะรับไว้นะ
10.ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ
เช่น ครับ,ขอรับ,ค่ะ
– มีคนมาขอพบนายท่านขอรับ
– สวัสดีค่ะ มีอะไรให้ช่วยเหลือมั้ยคะ
– เดี๋ยวผมจะจัดการให้ดีที่สุดครับ