คำพังเพย สำนวนสุภาษิตไทย พร้อมความหมาย

คำพังเพย สำนวนสุภาษิตไทย พร้อมความหมาย สำหรับทำรายงานส่ง

สุภาษิต คำพังเพย

คำสุภาษิต มักจะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย เมื่อฟังแล้วบางครั้งมักจะไม่ค่อยได้ความหมายในตัวของมันเองเท่าไหร่นัก แต่ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือตัวบุคคล จึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ คำสุภาษิตมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ

1.คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ เช่น กันไว้ดีกว่าแก้ คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อคนฉลาด เป็นต้น
2.คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อนถึงจะทราบถึงความหมายนั้นๆ เช่น ขี่ช้างจับตั๊กแตน คางคกขึ้นวอ เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว สุภาษิต สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย จะอยู่ประเภทที่ 2 คือฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อน

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ก

1.ก่อร่างสร้างตัว = ทำงานหาเงินอย่างหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว
2.กระต่ายหมายจันทร์ = ผู้ชายที่หมายปองหญิงสูงศักดิ์ ฐานะดีกว่าตัวเอง
3.กระต่ายตื่นตูม = ตื่นตกใจง่าย ยังไม่ทันหาสาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อนแล้วโวยวาย
4.กระต่ายขาเดียว = ยืนกรานไม่ยอมรับผิดท่าเดียว
5.กงเกวียนกำเกวียน = ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น
6.กบในกะลาครอบ = มีความรู้หรือประสบการณ์น้อยแต่มักจะนึกว่าตัวเองรู้มากกว่าคนอื่น
7.กระดี่ได้น้ำ = ดีอกดีใจจนเกินงาม ไม่เหมาะไม่ควร
8.กระโถนท้องพระโรง = บุคคลที่ถูกใครๆ รุมใช้อยู่คนเดียว
9.กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ = ทำงาน 2 อย่างแบบลังเลใจ แก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีต้องเสียงานไป 1 อย่าง
10.ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ = ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
11.ไก่แก่แม่ปลาช่อน = หญิงมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก
12.เกลือเป็นหนอน = คนภายในกลุ่มของเรา คิดทรยศไปบอกความลับฝ่ายตรงข้าม
13.เกลือจิ้มเกลือ = แก้แค้นให้สาสมกับที่ทำไว้ ไม่ยอมเสียเปรียบกัน
14.กินบนเรือนขี้บนหลังคา = คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความเดือดร้อนให้
15.กินน้ำเห็นปลิง = ตะขิดตะขวงใจกับคนชั่วที่รู้พูดหรือคบด้วยโดยรู้ว่าเขาไม่ดี
16.กาคาบพริก = คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีแจ๋นๆ
17.กลับเนื้อกลับตัว = เลิกทำความชั่ว แล้วมาประพฤติตัวเป็นคนดี
18.กลับหน้ามือเป็นหลังมือ = เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างตรงกันข้าม
19.กล้านักมักบิ่น = กล้าเกินไปมักจะเกิดอันตรายได้
20.กาคาบพริก = คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีแจ๋นๆ
21.กำขี้ดีกว่ากำตด = ได้มาบ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
22.กินน้ำไม่เผื่อแล้ง = มีเงิน มีของก็ใช้ถลุงเสียจนหมด ไม่ห่วงอนาคตข้างหน้า
23.เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน = เก็บเล็กผสมน้อย เก็บส่วนเล็กส่วนน้อยจนเป็นรูปเป็นร่างเป็นกอบเป็นกำ
24.กำแพงมีหูประตูมีตา = จะพูดอะไรต้องระวัง อาจมีคนรู้ได้
25.กิ่งทองใบหยก = ชายหนุ่ม หญิงสาวเหมาะสมกันดีที่จะแต่งงาน
26.เกี่ยวแฝกมุงป่า = ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว
27.กรวดน้ำคว่ำขัน = ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย ชาตินี้อย่าได้เจอกัน
28.แกว่งเท้าหาเสี้ยน = อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
29.กินน้ำพริกถ้วยเก่า = อยู่กินกับเมียคนเดิม
30.กระเชอก้นรั่ว = ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ
31.กินปูนร้อนท้อง = เมื่อกระทำความผิดแล้วกลัวว่าคนอื่นจะจับได้ว่าตนได้กระทำความผิดไว้ โดยแสดงอาการมีพิรุธ แสดงอาการเดือดร้อนออกมาให้เห็นเอง
32.กบเลือกนาย = การช่างเลือก ช่างสรรหาเพื่อที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังหรือมีความต้องการ เป็นคนเลือกมาก แต่ท้ายสุดกลับได้ของที่ไม่ต้องการหรือไม่มีค่าอะไรเลย
33.กลมกลิ้งเป็นลูกมะนาว = พฤติกรรมกลับกลอก กะล่อนมากจนตามไม่ทัน ที่มาของสำนวน เนื่องจากมะนาวมีผลกลมเกลี้ยง กลิ้งไปมาได้ง่าย จึงใช้เปรียบกับคนที่กะล่อนมากจนตามไม่ทัน เหมือนลูกมะนาวที่กลิ้งได้เร็ว เวลากลิ้งบนพื้นตามจับยาก เพราะผลกลมเกลี้ยง
34.กันไว้ดีกว่าแก้ = รู้จักหาวิธีป้องกันเหตุไม่ให้เกิดขึ้นดีกว่าปล่อยให้เหตุร้ายเกิดแล้วไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ข ถึง ง

35.ขนมผสมน้ำยา = ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้
36.ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า = บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ใจเราปรารถนา
37.ขุดบ่อล่อปลา = ทำกลอุบายให้เขาเชื่อเพื่อหวังผลประโยชน์
38.ขิงก็รา ข่าก็แรง = ต่างคนต่างอารมณ์ร้อนพอกัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน
39.ขวานฝ่าซาก = พูดจาตรง ๆ ไม่เกรงใจใครเลย
40.ขว้างงูไม่พ้นคอ = ทำอะไรก็ตาม ผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง
41.ขายผ้าเอาหน้ารอด = ยอมเสียสละของสำคัญของตนเพื่อรักษาชื่อเสียงตนเอาไว้
42.เขียนเสือให้วัวกลัว = หลอก ขู่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเสียขวัญหรือเกรงขาม
43.เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า = ให้รอบคอบ อย่าประมาท
44.เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม = ทำตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่คนในสังคมนั้นเขาทำกัน
45.ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา = เหยียดหยามทั้งวาจา และสายตามองแบบดูถูก
46.คดในข้อ งอในกระดูก = คิดโกงเป็นชีวิตจิตใจ แก้ไม่หาย
47.คลุมถุงชน = การแต่งงานที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว ต่างไม่ได้รักกันมาก่อน โดนผู้ใหญ่จับแต่ง
48.คาหนังคาเขา = จับได้ในขณะที่กำลังทำผิดหรือพร้อมกับของกลาง
49.โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน = ชายแก่ชอบหญิงสาววัยรุ่นมาเป็นเมีย
50.ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด = มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
51.คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ = จะคบเพื่อนต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน
52.คลื่นกระทบฝั่ง = เรื่องราวเกิดขึ้นแล้วก็เงียบหายไปในที่สุด
53.คอหอยกับลูกกระเดือก = เข้ากันได้ดีแยกกันไม่ออกหรือสนิทสนมกัน
54.ฆ้องปากแตก = เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับของคนอื่นไปพูดต่อ
55.ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก = จะทำการใหญ่ ไม่ควรตะหนี่ถี่เหนียว
56.งมเข็มในมหาสมุทร = ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้
57.เงาตามตัว = ติดสอยห้อยตาม ไม่ห่างไปไหน
58.ขี่ช้างจับตั๊กแตน = ลงทุนมาก แต่ได้ผลตอบแทนนิดเดียว
59.เข้าด้ายเข้าเข็ม = กำลังคับขันเวลากำลังสำคัญ ถ้าพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะจะเสียการ
60.เข้าตามตรอก ออกตามประตู = ทำตามขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่หมายถึงการแต่งงาน
61.เข็นครกขึ้นภูเขา = ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก
62.ขี้ใหม่หมาหอม = คนที่ชอบเห่อของใหม่
63.ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง = สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูสวยงามดูดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นแย่เลวร้าย หรือหมายถึงหญิงสาวที่มีรูปร่างที่งดงาม แต่กลับมีกิริยาท่าทาง มารยาทและการกระทำที่ไม่งามเหมือนกับรูปร่างของเธอ
64.ข้าเก่าเต่าเลี้ยง = ลูกน้อง คนงาน หรือคนรับใช้ ที่รับใช้ครอบครัวมานาน เป็นเหมือนคนเก่าคนแก่ที่อยู่ด้วยกันจนไว้วางใจ

Supasit Thai 1000-Book.indb

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด จ ถึง ต

65.ช้าๆได้พร้าเล่มงาม = ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ พิจารณาให้ดี รอบคอบ เดี๋ยวจะสัมฤทธิ์ผลเอง
66.ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ = พระสงฆ์จะประพฤติตัวอย่างไรก็เรื่องของท่าน ท่านก็ได้รับผลกรรมเอง
67.ชักหน้าไม่ถึงหลัง = มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
68.ได้ทีขี่แพะไล่ = ไปซ้ำเติม เยาะเย้ยเมื่อคนอื่นเพลี่ยงพล้ำ
69.ดีดลูกคิดรางแก้ว = คิดถึงผลได้ ผลดีอย่างเดียว
70.ตีงูให้กากิน = ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้ ตกอยู่กับผู้อื่นซะเนี่ย
71.ติเรือทั้งโกลน = ติพล่อยๆ ตำหนิในสิ่งที่เขายังทำไม่เสร็จ
72.ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ = เสียทรัพย์โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไร
73.ตำข้าวสารกรอกหม้อ = ทำพอให้เสร็จไปแค่ครั้งหนึ่ง ๆ พอพรุ่งนี้จะเอา ค่อยทำใหม่
74.ตาลยอดด้วน = คนที่ไม่มีหนทางทำมาหากินคนไม่มีบุตรสืบสกุล
75.ตาบอดได้แว่น = คนที่มีสิ่งที่ตัวเองใช้ประโยชน์ไม่ได้ มักใช้คู่กับ หัวล้านได้หวี
76.ตาบอดคลำช้าง = คนที่รู้อะไรด้านเดียว แล้วเข้าใจแต่อย่างนั้น สิ่งนั้น
77.ตัดหางปล่อยวัด = ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง
78.ตักบาตรอย่าถามพระ = จะให้อะไรแก่คนอื่น อย่าไปถามเขาว่าเอาไหม อยากได้ไหม
79.ตกกะไดพลอยโจน = จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง
80.ตักน้ำรดหัวตอ = แนะนำเท่าไร พร่ำสอนเท่าไร ก็ไม่ได้ผล
81.เตี้ยอุ้มค่อม = คนจนแต่รับเลี้ยงดูคนที่ต่ำต้อยจนเหมือนกัน
82.ตีงูให้หลังหัก = ทำสิ่งใดแก่ศัตรูไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมได้รับผลร้ายภายหลัง
83.ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม = เร่งรัดเกินไปในเวลาที่ยังไม่เหมาะสม
84.ตีตนก่อนไข้ = กังวลทุกข์ร้อนก่อนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
85.ตีปลาหน้าไซ = พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดีกลับเสีย
86.ตีวัวกระทบคราด = โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ก็เลยรังควานอีกคนที่ตนเองสามารถทำได้
87.จุดไต้ตำตอ = พูดหรือทำบังเอิญไปโดนเจ้าของเรื่องโดยผู้พูดนั้นไม่รู้ตัว
88.จับแพะชนแกะ = ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเพื่อให้เสร็จๆ ไป
89.จับงูข้างหาง = ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย
90.จับเสือมือเปล่า = หาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ลงทุน
91.ชาติเสือจับเนื้อกินเอง = คนที่เชื่อมั่นและถือศักดิ์ศรีของตน แม้จะลำบากยากแค้นก็ไม่ยอมรบกวนและเบียดเบียนใคร หรือการทำมาหากินด้วยความอุตสาหะไม่เบียดเบียนผู้อื่น
92.ชักแม่น้ำทั้งห้า = พูดจาหว่านล้อม ยกยอคนอื่นว่าเขาดีเลิศ เพื่อเราจะได้สมปรารถนา
93.ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด = ความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
94.จองหองพองขน = เย่อหยิ่ง อวดดี ทะนงตน หรือไม่รู้จักบุญคุณด้วยการแสดงอาการลบหลู่ผู้มีพระคุณ
95.เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด = ผู้ที่ไม่มีอยู่เป็นหลักแหล่ง หรือเปลี่ยนสถานที่อยู่ไปเรื่อย
96.ชักซุงตามขวาง = สำนวนสุภาษิตนี้หมายถึงการทำอะไรที่ไม่ถูกวิธี ย่อมได้รับความยากำบาก หรือการขัดขวางผู้ที่มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน
97.ชักใบให้เรือเสีย = การพูดหรือการกระทำที่แสดงออกมาในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เรื่องในเหตุการณ์นั้นๆต้องออกนอกเรื่อง หรือผิดประเด็นออกไปในทางที่ไม่ดี โดยไม่คิดว่าจะส่งผลอย่างไรกับคนที่อยู่รอบข้าง
98.ช้างสารงูเห่า ข้าเก่าเมียรัก = บรรดาสิ่งไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งอาจนำภัยมาสู่ชีวิตตน

จับเสือมือเปล่า

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ถ ถึง ป

99.น้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฎ
100.น้ำท่วมปาก = พูดไม่ได้ เกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น
101.น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง = พูดมากได้สาระน้อย
102.นายว่าขี้ข้าพลอย = พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามเจ้านาย
103.น้ำขึ้นให้รีบตัก = มีโอกาสดีก็ควรรีบทำ
104.น้ำซึมบ่อทราย = รายได้มาเรื่อยๆ
105.ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ = เลิกแสดงฤทธิ์เดชอำนาจอีก
106.นกสองหัว = ทำตัวเข้ากับทั้ง 2 ฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
107.ถอยหลังเข้าคลอง = หวนกลับไปหาแบบเดิม ๆ ล้าสมัย
108.ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น = ดูเหมือนจะรอบคอบถี่ถ้วน แต่รอบคอบไม่จริง
109.ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ = ทำการสิ่งใด ถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผล
110.บนข้าวผี ตีข้าวพระ = ขอร้องให้เทวดาผีสางนางไม้ช่วยโดยการบน
111.บอกหนังสือสังฆราช = สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
112.บัวแล้งน้ำ = คนที่ไม่น้ำใจ ไร้ซึ่งความเมตตากรุณา
113.เบี้ยหัวแตก = เงินที่ได้มาทีละเล็กทีละน้อย แล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
114.เบี้ยบ้ายรายทาง = เงินที่ต้องใช้จ่าย หรือเสี่ยไปเรื่อย ๆ ในขณะทำธุรกิจให้สำเร็จ
115.ปลาติดร่างแห = คนที่พลอยรับเคราะห์กรรมกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน
116.ปากปราศัย ใจเชือดคอ = พูดดีแต่ใจคิดร้าย
117.ไปไหนมา สามวาสองศอก = ถามอย่างหนึ่ง ตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
118.ปิดทองหลังพระ = ทำดีแต่ไม่มีใครยกย่อง เพราะมองไม่เห็นคุณค่า
119.ปากว่าตาขยิบ = พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน
120.ปากหวานก้นเปรี้ยว = พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่จริงใจ
121.ปล่อยนกปล่อยกา = ปล่อยให้เป็นอิสระ , ไม่เอาผิดหรือไม่เอาความ
122.ปลาใหญ่กินปลาเล็ก = ผู้ที่มีอำนาจหรือกำลังเหนือกว่า เอาเปรียบ คนที่มีอำนาจหรือกำลังน้อยกว่า
123.ปอกกล้วยเข้าปาก = สะดวก , ง่ายดาย นิยมใช้ว่า ” ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ”
124.ปากคนยาวกว่าปากกา = คำนินทา หรือคำพูดที่พูดต่อๆกันนั้นแพร่กระจายไปได้ไกล สำนวนนี้นิยมใช้เมื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของข่าวสาร หรือการให้ร้ายว่าสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
125.ปูนอย่าขาดเต้าข้าวอย่าขาดโอ่ง = ใช้จ่ายพอเหมาะพอควร รู้จักเก็บออมเงินไว้บ้าง ครอบครัวจะได้อุ่นใจ

น้ำขึ้นให้รีบตัก

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ผ ถึง ย

126.ผีถึงป่าช้า = ต้องยอมทำ เพราะจำใจหรือไม่มีทางเลือก
127.ผักชีโรยหน้า = ทำความดีเพียงผิวเผิน
128.ผีซ้ำด้ำพลอย = ถูกซ้ำเติม เมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
129.ผ่อนหนักเป็นเบา = ลดความรุนแรง ลดหย่อนลง
130.แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา = แม้ว่าคราวนี้จะได้รับความผิดหวัง หรือได้กระทำบางสิ่งพลาดไป ก็ยังไม่สิ้นไร้หนทาง ยังมีหนทาง มีโอกาสอีกมากมายที่จะทำในเรื่องใหม่ๆ
131.ฝนตกไม่ทั่วฟ้า = ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน
132.ฝนทั่งให้เป็นเข็ม = เพียรพยายามสุดความสามารถจนสำเร็จ
133.พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง = พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า สงบสยบความเคลื่อนไหว
134.พูดเป็นต่อยหอย = พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก เม้าท์เก่ง
135.พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ = รู้ทันกัน ไม่มีทางจะโกหก หลอกกันได้
136.พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น = พบหญิงสาวที่ถูกใจ เมื่อแก่แล้ว
137.ไม่หลักปักไม้เลน = โลเล ไม่แน่นอน
138.ไม้ใกล้ฝั่ง = แก่มาก อายุขัยใกล้ตาย
139.ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน = ไม่รู้ว่าบ้านช่องอยู่ไหน เป็นลูกหลานใคร ไม่รู้จักพื้นเพ
140.ไม่ดูตาม้าตาเรือ = ไม่พิจารณารอบคอบดูให้ดี
141.มือห่าง ตีนห่าง = สุรุ่ยสุร่าย เลินเล่อ สะเพร่า ไม่ระมัดระวัง
142.ยื่นแก้วให้วานร = เอาของมีค่าให้คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น
143.ยกภูเขาออกจากอก = โล่งอก หมดวิตกกังวล
144.ยกตนข่มท่าน = พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
145.เพชรตัดเพชร = คนที่มีสติปัญหาและความสามารถพอๆกัน เมื่อต้องมาแข่งขันหรือต่อสู้กัน ก็อาจจะเสมอหรือสูสีเพราะว่าเก่งเหมือนกัน
146.พระอิฐพระปูน = นิ่งๆเฉยๆ , ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไรกับใคร
147.พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย = พูดจาไพเราะอ่อนหวานก็จะเป็นศิริมงคลกับตัวเอง แต่ถ้าหากพูดจาไม่ดีก็จะได้รับอันตรายได้
148.เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก = เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ร ถึง ส

149.รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ = รักจะคบกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่สั้น ๆ ให้คิดอาฆาต
150.รีดเลือดกับปู = บังคับเอากับผู้ยากจนที่ไม่มีจะให้
151.เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ = อาการหลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ
152.เลือดข้นกว่าน้ำ = ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
153.ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก = ดีแต่พูด เม้าท์ แต่ทำจริง ๆ ทำไม่ได้
154.ลางเนื้อชอบลางยา = ของบางสิ่งอาจถูก เข้ากันได้ดี เหมาะกับคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับอีกคน
155.ลูกขุนพลอยพยัก = พวกประจบสอพลอ ผู้ที่คอยว่าตามผู้ใหญ่ เจ้านาย
156.ลูกผีลูกคน = จะเอาแน่นอนไม่ได้ มักใช้ในกรณีสำคัญๆ
157.วัวใครเข้าคอกคนนั้น = กรรมที่ใครสร้างไว้ ย่อส่งผลให้แก่ผู้นั้น
158.ว่ายน้ำหาจระเข้ = เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตราย
159.ศรศิลป์ไม่กินกัน = ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน
160.สร้างวิมานในอากาศ = คิดคาดหวัง จะมีจะเป็นอะไรอย่างเลิศลอย
161.สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ = จะสุขหรือจะทุกข์ก็ขึ้นกับความคิดและทัศนคติของตัวเราเอง ที่เป็นผู้กำหนดเลือก
162.เสือเฒ่าจำศีล = ผู้ที่มีเล่ห์กลมารยา แต่ทำสำรวมสงบเสงี่ยมอย่างคนถือศีล
163.เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน = ยุยงให้ผู้อื่นทะเลาะกันหรือผิดใจกัน
164.สองฝักสองฝ่าย = ทำตัวเข้ากับ 2 ฝ่ายที่ไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
165.สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ = สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือถนัดอยู่แล้ว
166.สาวไส้ให้กากิน = เอาความลับของตน หรือพวกตนไปเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตน
167.เสน่ห์ปลายจวัก = ภรรยาที่มีความสามารถในการทำอาหารถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้สามีรักหลงใหล
168.สิบเบี้ยใกล้มือ = ของหรือประโยชน์ที่ควรได้ก็เอาไว้ก่อน
169.สุกเอาเผากิน = ทำลวก ๆ ทำพอเสร็จไปครั้ง ๆ หนึ่ง
170.เส้นผมบังภูเขา = เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่

สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ

สำนวนสุภาษิต คำพังเพย หมวด ห ถึง อ

171.หนามยอกเอาหนามบ่ง = ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน
172.หน้าสิ่วหน้าขวาน = อยู่ในระยะอันตราย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ
173.หมาในรางหญ้า = คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
174.หมาสองราง = คนที่ทำตัวเข้าทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
175.หัวมังกุ ท้ายมังกร = ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน
176.หัวหลักหัวตอ = บุคคลที่น้อยใจ เพราะคนอื่นมองข้ามความสำคัญ ไม่ยอมมาปรึกษา
177.เหยียบเรือสองแคม = ทำทีเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่าย
178.หูผีจมูกมด = ไหวตัวทันเหตุการณ์ตลอด
179.หาเหาใส่หัว = รนหาเรื่องเดือดร้อน รำคาญใส่ตน
180.หยิกเล็บเจ็บเนื้อ = เมื่อทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิด ก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้ทำหรือพวกพ้อง
181.หอกข้างแคร่ = คนใกล้ชิดที่จะคอยทำร้ายเมื่อใดก็ได้
182.หักด้ามพร้าด้วยเข่า = หักโหมเอาด้วยกำลัง ใช้อำนาจบังคับเขา
183.หัวแก้วหัวแหวน = เป็นที่รักใคร่เอ็นดูมาก
184.หว่านพืชหวังผล = การทำอะไรที่ไม่ได้ทำให้เปล่าๆ ลงทุนลงแรงลงไปก็เพื่อหวังผลประโยชน์ที่จะได้รับตอบแทน
185.เอาหัวเดินต่างตีน = ทำในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
186.เอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง = การลงทุนเพียงน้อยนิดแต่หวังผลประโยชน์หรือกำไรมาก
187.อัฐยายซื้อขนมยาย = การได้รับสิ่งของหรือทรัพย์สินจากผู้หนึ่งผู้ใด แล้วนำสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ได้มา มาใช้หาผลประโยชน์กับผู้นั้น โดยที่ตนเองไม่ต้องลงทุนอะไร
188.หักด้ามพร้าด้วยเข่า = การไม่รู้จักประมาณตน การกระทำการโดยไม่คิดให้ดีเสียก่อน ย่อมจะส่งผลเสียย้อนกลับมา
189.เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง = เห็นคนอื่นซึ่งมีฐานะ มีอำนาจ ทำอะไรที่ใหญ่โต ตนเองก็ทำเหมือนกับคนๆนั้น ทั้งๆที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถเพียงพอ
190.เหยียบเต่าเต็มตีน = จะทำอะไรก็ต้องมีความรอบคอบ มั่นคงหนักแน่น เพื่อไม่ให้งานที่ทำมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
191.เออออห่อหมก = การเห็นด้วยตามๆ กันไปกับคนอื่นๆ สำนวนนี้ใช้ในเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกัน ทำให้คนส่วนน้อยที่เหลืออยู่ต้องตัดสินใจไปตามคนส่วนใหญ่
192.หัวล้านนอกครู = ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา หรือไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำของครูอาจารย์จนทำให้เกิดความเดือดร้อน
193.เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน = แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า
194.เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง = เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนที่มีน้อยไปให้ผู้ที่มีมากกว่า
195.เอามือซุกหีบ = หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่
196.เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง = คัดค้านผู้มีอำนาจ ฐานะสูงกว่า หรือผู้ใหญ่กว่า มักจะล้มเหลว
197.เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ = แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ
198.หมาเห็นข้าวเปลือก = ผู้ที่มองเห็นของดีมีประโยชน์ แต่ไม่สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองได้
199.อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ = เรื่องที่มีความเสี่ยงสูง ถ้าหากไม่ใช่หน้าที่ของเรา ก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว หรือไปจัดการ เพราะอาจจะทำให้ตัวเราเองเดือดร้อนได้
200.อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น = เมื่ออาศัยอยู่ที่บ้านของใครก็ควรจะทำประโยชน์ให้กับเจ้าของบ้านนั้นๆบ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ

อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

แสดงความคิดเห็น

รายการ